วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประโยชน์ที่ได้จากการเล่นหมากล้อม

การเล่นหมากล้อมผู้ปกครองบางท่านอาจจะเห็นว่าเป็นเพียงแค่เกมส์หมากกระดานชนิดหนึ่งซึ่งไม่ได้ทำประโยชน์ให้กับเด็กๆหรือบุตรหลานของท่าน แต่คิดใหม่เถอะครับ 

ผม ครูพลจะมาเล่าถึงประโยชน์ของการเล่นหมากล้อม 

หมากล้อมกับนักบริหาร
   ศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี ได้ระบุถึงคุณประโยชน์ของการเล่นหมากล้อมไว้เป็น 3 ประเด็น โดยในประเด็นแรกท่านว่า การฝึกเล่นหมากล้อมจะเป็นการช่วยเพิ่ม การแตกแขนงกิ่งก้านสาขาออกมา เมื่อแต่ละแขนงของเซลล์หนึ่งไปจับกับแขนงของเซลล์อื่นๆ เราเรียกลักษณะนี้ว่า Synape ถ้าใครมีมากๆ ก็จะมีระดับ Intelligence สูงตามไปด้วย การเล่นไพ่ เช่น Rummy หรือ Bridge หรือการเล่นหมากกระดานชนิดอื่น เช่นหมากฮอส หมากรุก ก็เป็นการส่งเสริมพัฒนาเพิ่มปริมาณ Synape เช่นกันแต่เนื่องจากหมากล้อมมี Possibility สูงมากถึง 361! จึงต้องใช้ความคิดพิจารณา สูงกว่าเกมอื่นๆ ซึ่งผลก็คือการเพิ่มปริมาณ Synape ในระดับที่สูงกว่า มีหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนึ่งเขียนเกี่ยวกับคุณประโยชน์ของการฝึกเล่นโกะว่า เป็น " Brain Jogging " คือเขาอธิบายว่า การที่เราออกวิ่ง jogging นั้นเป็น Physical jogging แม้จะเหน็ดเหนื่อย จากการทำงานมาทั้งวัน แต่เราก็คงยัง Force ร่างกาย โดยการออกกำลัง ซึ่งเราก็จะได้สุข๓พร่างกายที่สดชื่น แข็งแรง มีความสมบูรณ์เต็มที่ พร้อมที่จะลุยงานใหม่ต่อไป ไม่อ่อนล้าเหน็ดเหนื่อยโดยได้ง่าย ในลักษณะเดียวกันสมองก็ต้องการ Jogging เช่นกัน เราต้องForce สมองของเราให้คิดเรื่องซับซ้อน และต้องให้มีสมาธิอยู่กับเรื่องซับซ้อนนั้นอย่างต่อเนื่องและยาวนานเพียงพอ ซึ่งจะส่งให้ความคิดเรา เฉียบคม มีความพร้อมที่จะใช้ความคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่อ่อนล้าง่ายเมื่อเจอปัญหายุ่งยาก ซับซ้อน

    
           การเล่นโกะ นอกจากจะเป็นการพัฒนา ให้มีความคิดเฉียบคมดังกล่าวแล้วนั้น ยังเป็นการฝึกให้ผู้เล่นมีทัศนะคติที่ดีต่อปัญหาต่างๆ ในชีวิตและการทำงาน ผู้เล่นโกะอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นคนที่ชอบความยากและงานที่ท้าทายความสามารถ ไม่ย่อท้อหนีปัญหา ง่ายๆ ฝึกให้เกิดความเคยชินกับความยุ่งยากซับซ้อนวุ่นวายเห็นเรื่องยากเป็นเรื่อง ง่ายธรรมดา อีกทั้งยังฝึกให้ผู้เล่นเป็นนักวางแผนกลยุทธ พัฒนาความคิดในเชิงวิเคราะห์ในเชิงวิเคราะห์ คือการกำหนดลักษณะของปัญหา , พิจารณาค้นหาสาเหตุ , ประเมิณกำลังและสภาพแวดล้อม , กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ต่างๆ ทั้งหมดแล้วจึงตัดสินใจเลือกทางเลือกเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ อย่างดีที่สุด ทำให้เป็นคนสุขุมนุ่มลึก ละเอียดรอบคอบ ตัดสินใจอยู่บนอยู่บนหลักของเหตุผลไม่ใช้อารมณ์

   กล่าวโดยสรุปคือ การเล่นโกะสามารถทำให้ผู้เล่นพัฒนาความคิดให้เฉียบคม มีทัศนะคติความคิดที่ดีต่อปัญหาชอบความยากและงานที่ท้าทายความสามารถ อีกทั้งยังฝึกให้เป็นนักวางแผนกลยุทธ ฝึกให้ควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่ง แล้ววิเคราะห์วิจารณ์เรื่องต่างๆ ไปตามเหตุผลอันสมควร คนอย่างนี้ย่อมเป็นคน "เก่งงาน" ถูกต้องไหมครับ? เขาจะสามารถทำงานต่างๆได้ดี บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   
        อย่างไรก็ตาม คน "เก่งงาน" อย่างเดียวจะมาสามารถทำงานใหญ่ได้ พวกเราเคยได้ยินคำว่า "เก่งคน"ใช่ไหมครับ ? การทำงานเป็นทีมโดยพาะตัวผู้จัดการทีม จำเป็นต้องมีความ "เก่งคน" ด้วยจึงจะสามารถทำงานได้สำเร็จ นอกจากนั้นคนเก่งแต่ไร้คุณธรรมยิ่งน่ากลัวกว่าฏจรลักเล็กขโมยน้อยมากมายหลาย เท่า บ้านเมืองเราที่มีเรื่อง ปปล้นแบงค์ , ค้ายาบ้า , การพนัน ,คอรัปชั่น , ...... ก็เพราะเรามีคนที่เก่งแต่ไร้คุณธรรมมากเกินความต้องการนั่นเอง คนพวกนี้เราถือว่าไม่รู้จักจัดการชีวิต เพราะ ชอบก่อความเดือดร้อนหักับผู้อื่นและแม้แต่ตนเอง ไม่ช่วยสร้างสรรค์จรรโลงสังคม คราวนี้เรามาดูซิว่า โกะจะช่วยให้ผู้เล่นสามารถพัฒนาคุณธรรม - จริยธรรม หรือ "รู้จักจัดการชีวิต" ได้อย่างไร ?    
ถ้าท่านผู้ปกครองทราบถึงประโยชน์ของการเล่นหมากล้อมแล้ว อย่ารอช้าครับ 

     ทักษะทางปัญญา 11 ประการ

    การเล่นหมากล้อมเป็นประจำจะช่วยฝึกนิสัย ทัศนคติ จนกระทั่งอาจถึง สัญชาติญาณ (ถ้าเล่นจนถึงขั้น) เกี่ยวกับเรื่องต่างๆดังนี้
    1.     การวางแผน การตัดสินใจโดยใช้หลักเหตุผลมิใช่อารมณ์    
    2.     ความสำเร็จจะเกิดได้จากการผสมผสานระหว่างนโยบาย , กลยุทธ ,และ ยุทธวิธี ที่ดีพร้อม    
    3.     การปรับกลยุทธตามสถานการณ์ณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะปรับปรุง    
    4.     ผู้ที่ไม่พัฒนาย่อมล้าหลังและล่มสลาย ไปในที่สุด คือเราควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเรา จะทำให้เราทิ้งห่างขู้ต่อสู้ไปได้เอง ไม่ควรใช้ทรัพยากรทั้งหลายไปในทางทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม เพราะ "กำลัง" ที่มุ่งใช้ในการทำลายล้างมักมีปฏิกิริยาย้อนกลับรุนแรง    
    5.     การแบ่งสรรปันส่วน : ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง ไม่มีทางได้ทั้งหมด เมื่อได้มาก็ต้องเสียไป เมื่อเสียไปแล้วค่อยหาทางได้กลับมา    
    6.     การจัดลำดับความสำคัญของงานต่างๆ โดยเฉพาะงานด่วนต้องทำก่อนงานใหญ่เสมอ    
    7.     การจัดดุลยภาพระหว่างเรื่องราวต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องในชีวิต เสมือนการ ดูแลสนามรบ "อย่าชนะสนามรบแต่แพ้สงคราม    
    8.     ศึกษา "กำลัง" ที่เกิดจากการรวมตัว เป็นกลุ่มของหมากบนกระดาน การเปรียบเทียบกำลัง สะสมกำลัง การป้องกันการเสื่อมสลายและสุดท้ายคือการใช้ "กำลัง" อย่างมีธรรมะเพื่อการสร้างสรรค์    
    9.     การรู้จักประมาณ และเคารพผู้อื่น ในฐานะที่ต่าง ก็มีโอกาสเท่าเทียมกัน    
    10.     เมื่อผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่ายมีฝีมือทัดเทียมกัน คนแพ้ก็คือ คนที่ทำผิดมากกว่าจึงฝึกให้มีความสุขุมรอบคอบควบคุมตัวเองให้ทำผิดน้อยที่ สุด รู้จักอดทนอดกลั้น โดยพยายามประคองตังเองเมื่อเพลี่ยงพล้ำ และแม้ว่าจะแพ้ก็ให้ประโยชน์ ในด้านการเตือนสติให้สำรวจตัวเองว่าเราได้ทำอะไรไปบ้าง จุดบกพร่องของเราอยู่ที่ไหน?    
    11.     ช่วยให้เข้าใจเรื่องความเปลี่ยนแปลง อันเป็นสัจธรรมของชาติของสิ่งทั้งหลายตามเหตูปัจจัยไม่ยึดติด ช่วยยกระดับภูมิจิตให้เข้าถึง ความสงบ อันเป็นคุณภาพจิตขั้นสูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น